นักวิจัยเผย เมื่อพันล้านปีที่แล้ว 1 วันบนโลก มีแค่ 19 ชั่วโมง! admin, March 30, 2024 เป็นที่ทราบกันดีว่า “วัน” คือระยะเวลาที่โลกใช้ในการหมุนรอบตัวเอง 1 วันบนโลกมีค่าเท่ากับ 24 ชั่วโมง และเป็นอย่างนี้มาช้านาน แต่ทราบหรือไม่ว่า โลกไม่ได้มี 24 ชั่วโมงต่อวันอย่างนี้มาตั้งแต่อดีต โดยก่อนหน้านี้ 1 วันบนโลกสั้นกว่า 24 ชั่วโมง! ผลการศึกษาตัวอย่างหินโบราณจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโลกของเราที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน นั่นคือ “เมื่อกว่าพันล้านปีที่แล้ว 1 วันบนโลก ไม่ได้เท่ากับ 24 ชั่วโมงอย่างทุกวันนี้ แต่กินเวลาแค่ 19 ชั่วโมงเท่านั้น” พบดาบโบราณอายุ 3,000 ปี สภาพสมบูรณ์มากแทบเงาวับในเยอรมนี พบ “องค์ประกอบของชีวิต” บนดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ อดีตจนท.ข่าวกรองอ้าง สหรัฐมี “ยานพาหนะมนุษย์ต่างดาว” ไว้ในครอบครอง โดยระหว่าง 1-2 พันล้านปีก่อน เวลา 1 วันจะสั้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากดวงจันทร์บริวารของโลกโคจรอยู่ใกล้กว่า เมื่อเวลาผ่านไป ดวงจันทร์ใช้พลังงานการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์เพื่อเคลื่อนไปสู่วงโคจรที่ห่างขึ้น ทำให้การหมุนของโลกช้าลง ส่งผลให้วันเวลายาวนานขึ้น ในการศึกษานี้ นักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียและจีนพบว่า ระยะเวลา 1 วันไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอตลอดประวัติศาสตร์ 4.5 พันล้านปีของโลก แต่พวกเขาพบว่า ระยะเวลาของวันได้หยุดไปประมาณ 1 ใน 4 ของประวัติศาสตร์โลก เนื่องจากแรงผลักของดวงอาทิตย์สมดุลกับแรงดึงของดวงจันทร์ ทำให้การหมุนของโลกคงที่ชั่วคราวที่ 19 ชั่วโมงต่อวัน ทีมวิจัยระบุว่า “ระยะเวลา 1 วันของโลกหยุดอยู่ที่ประมาณ 19 ชั่วโมงเป็นเวลาประมาณ 1 พันล้านปี ในช่วงกลางยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic) หรือเกิดระหว่างช่วง 2.5 พันล้านปีก่อนถึงเมื่อ 541 ล้านปีก่อน รอสส์ มิตเชลล์ นักธรณีฟิสิกส์และศาสตราจารย์ของสถาบันธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ สถาบันวิทยาศาสตร์จีน หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า นักวิจัยมองหาเบาะแสเกี่ยวกับระยะเวลา 1 วันในโลกสมัยโบราณจากตัวอย่างหิน รวมถึงหินอายุ 600 ล้านปีที่พบในมณฑลกุ้ยโจว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนคำพูดจาก สล็อตฝ “การหมุนของโลกมีการโยกเยกและเอียงไปมา เหมือนลูกข่างหมุน สิ่งเหล่านี้เรียกว่า วัฏจักรมิลานโควิช (Milankovitch Cycle)” มิตเชลล์กล่าว เขาเสริมว่า “วัฏจักรเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศของโลกโดยการควบคุมปริมาณพลังงานจากดวงอาทิตย์ ดังนั้นพวกมันจึงถูกบันทึกไว้ในหินตะกอนพิเศษที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ … หากค้นหารูปแบบของวัฏจักรของตะกอนได้ เราก็จะสามารถคำนวณจำนวนชั่วโมงในสมัยโบราณได้อย่างแม่นยำ” มิตเชลล์กล่าวว่า การบันทึกข้อมูลวัฏจักรมิลานโควิช ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งสร้างขึ้นในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ช่วยให้พวกเขาทดสอบทฤษฎีที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่า ความยาวของวัน 1 วันบนโลก อาจเคยหยุดชะงักในอดีตอันไกลโพ้น “ในช่วงพันล้านปีที่ผ่านมา วันเวลาจะสั้นลงเรื่อย ๆ เมื่อคุณย้อนเวลากลับไปในอดีต แต่ทันใดนั้นเราก็เห็นว่าข้อมูลมีลักษณะแบนราบ พวกมันหยุดสั้นลงและหยุดนิ่ง” เขากล่าว งานวิจัยนี้ใช้ทฤษฎีเก่าแก่หลายทศวรรษที่ว่า ดวงอาทิตย์อาจมีอิทธิพลต่อแรงโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ “เวลาที่เราไปชายหาด จะเห็นน้ำขึ้นและน้ำลง นั่นเกี่ยวข้องกับแรงดึงดูดของดวงจันทร์ที่มีต่อโลก ทำให้มหาสมุทรนูนขึ้นในทิศทางของดวงจันทร์ เรียกว่า Lunar Tide” เขาเสริมว่า “นอกจากนี้ยังมี Solar Tide ที่แสดงผลในชั้นบรรยากาศ ในช่วงกลางวันบรรยากาศจะร้อนขึ้น เมื่อคุณให้ความร้อนแก่บางสิ่ง คุณจะได้รับการขยายตัวทางความร้อน … ก๊าซต่าง ๆ เช่น ไอน้ำและโอโซน บรรยากาศในตอนกลางวันจะนูนเข้าหาดวงอาทิตย์” แรงดึงทั้งสองนี้อยู่ตรงข้ามกัน Lunar Tide ทำให้การหมุนของโลกช้าลงในขณะที่ Solar Tide ผลักโลก และแม้ว่า Solar Tide ในปัจจุบันจะค่อนข้างอ่อนเมื่อเทียบกับ Lunar Tide แต่เมื่อ 1-2 พันล้านปีก่อนมันอาจแข็งแกร่งพอที่จะอยู่ในภาวะสมดุลกับ Lunar Tide ทำให้ดวงจันทร์ดึงโลกได้ยากขึ้น มิตเชลล์กล่าวว่า “มันเหมือนกับว่าคุณกำลังพยายามทำให้บางสิ่งหมุนช้าลงด้วยการแตะมัน แรงเสียดทานจะน้อยลงหากวัตถุนั้นหมุนเร็วขึ้น แรงดึงดูดของดวงจันทร์อาจอ่อนแอกว่าในอดีต … หากแรงตรงข้ามทั้งสองนี้มีความสมดุลอย่างสมบูรณ์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง วันของโลกก็จะหยุด ไม่ยาวนานขึ้น” พวกเขายังพบว่า การหยุดชะงักของความยาวของวัน “เกิดขึ้นพร้อมกับช่วงเวลาของวิวัฒนาการทางชีววิทยาที่ค่อนข้างจำกัดที่เรียกว่าพันล้านปีที่น่าเบื่อ (boring billion)” จากการศึกษาพบว่า ความยาวของวันที่สั้นลง ส่งผลให้ออกซิเจนน้อยลง ทำให้สิ่งมีชีวิตเติบโตได้ยากขึ้น พันล้านที่น่าเบื่อหมายถึงช่วงเวลา 1.8 พันล้านถึง 800 ล้านปีก่อน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในสภาพแวดล้อมและวิวัฒนาการทางชีวภาพเนื่องจากระดับออกซิเจนต่ำ “วิธีหลักในการสะสมออกซิเจนในชั้นบรรยากาศคือการสังเคราะห์ด้วยแสง” มิตเชลล์กล่าว เขาเสริทว่า “หลังจากที่วันเวลาหยุด ไม่ยาวขึ้น ไซยาโนแบคทีเรีย (จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงโบราณ) จะผลิตออกซิเจนได้แค่ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน จากนั้นอีกไม่กี่ร้อยล้านปีต่อมา เราก็เห็นการเพิ่มขึ้นของออกซิเจนในระดับปัจจุบัน เพราะวันเวลาของเรา 1 วันอยู่ที่ 24 ชั่วโมง … การที่วันนานขึ้น เท่ากับแสงแดดมากขึ้น เท่ากับออกซิเจนมากขึ้น” เขากล่าว เรียบเรียงจาก SCMP ภาพจาก AFP Sports News ข่าว พรีเมียร์ ลีก ล่าสุด สยาม กีฬาเลข 1 100 ภาษา อังกฤษ พร้อม ...
เจาะโมเดลธุรกิจซื้อเวลา “รับจองโต๊ะ” ฟันรายได้ครึ่งล้านต่อเดือน March 26, 2024 คุณภัชศุ ฐิตะรภัส ผู้ก่อตั้ง Book a Table ในวัย 32 ปี เล่าย้อนให้ฟังว่าหลังจากเรียนจบศิลปศาสตร์บัณฑิต เริ่มต้นชีวิตการทำงานเป็นพนักงานประจำด้านสื่อสารมวลชน เป็น ผู้สื่อข่าว ผู้ประกาศข่าว และจากนั้น มีโอกาสได้ทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ และการตลาด ซึ่งในระหว่างนั้นเอง เขาก็เริ่มทำธุรกิจร… Read More
เมลเชื่อผีขายกรีนวูดเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม May 11, 2024 ก่อนหน้านี้สื่อดังอังกฤษรายงานว่า ปิศาจแดง กำลังเจอปัญหาทางการเงินที่ถูกจำกัดตามกฎ PSR (Profit and Sustainability Rules) ของทางพรีเมียร์ลีกส่งผลให้ ปิศาจแดง ถูกกำหนดการใช้จ่ายในตลาดนักเตะช่วง 3 ปีต่อจากนี้ด้วยวงเงินแค่ 105 ล้านปอนด์ แม้ทาง INEOS เข้าซื้อหุ้นของสโมสรได้สำเร็จและผ่านการอนุมัติเรียบร… Read More
“ไทย” ดวล “หมอผี” ชิงตั๋วบอลโลกหญิง April 14, 2024 ศึกฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2023 รอบเพลย์ออฟ นานาชาติ ซึ่งจะมีทั้งหมด 10 ทีมเข้าร่วมแข่งขัน เพื่อหาอีก 3 ทีมสุดท้ายไปเล่นในรอบสุดท้ายที่ นิวซีแลนด์ เป็นเจ้าภาพ ได้ทำการจับสลากแบ่งสาย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดย 10 ทีม (ในวงเล็บเป็นอันดับโลก) ได้แก่ โปรตุเกส (23), ไต้หวัน (40), ชิลี (38), ไทย (41), ปาปัวนิวก… Read More